วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กติกากระบี่กระบอง

1. การถวายบังคม

        ในสมัยโบราณการแสดงการต่อสู้มักกระทำต่อหน้าที่ประทับ ผู้แสดงจึงต้องมีการถวายบังคมซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย  และต่อมาได้เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และผู้มีพระคุณ การถวายบังคมนี้จะกระทำ 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีความหมายดังนี้

         ครั้งที่ 1 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา
         ครั้งที่ 2 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อองค์พระประมุขของชาติ
         ครั้งที่ 3 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการและผู้มีพระคุณ



2. การขึ้นพรหม ประกอบด้วย การขึ้นพรหมนั่ง และการขึ้นพรหมยืน
 

         2.1 การขึ้นพรหมนั่ง ได้แก่ การนั่งร่ายรำแต่ละทิศจนครบ 4 ทิศ แล้วจึงกลับหลังหันลุกขึ้นยืน
         2.2 การขึ้นพรหมยืน เป็นการยืนรำแต่ละทิศจนครบทั้ง 4 ทิศ และจบลงด้วยการเตรียมพร้อมจะปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

         การขึ้นพรหมนี้ ถ้าฝ่ายหนึ่งขึ้นพรหมนั่งอีกฝ่ายจะขึ้นพรหมยืน นอกจากเป็นการสร้างกำลังใจและคุ้มครองในการต่อสู้แล้ว การขึ้นพรหมนี้ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้บันทึกไว้ว่า  เป็นการสอนให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ พรหมวิหารสี่

3. การรำเพลงอาวุธ
 

         ผู้แสดงที่เล่นอาวุธใดจะเลือกรำเพลงตามอาวุธที่ตนใช้  โดยเลือกท่ารำจากท่ารำทั้งหมดในอาวุธนั้นตามความเหมาะสมหรือความชำนาญของผู้เล่นประมาณ 1 ท่า การรำเพลงอาวุธนี้มีมานานแต่สมัยโบราณ และมีประโยชน์ต่อผู้เล่น
 

4. การเดินแปลง
 

         เป็นลักษณะของการเดินที่พร้อมจะเข้าสู่ท่าต่อสู้ การเดินจะเดินไปจนสุดสนามแล้วกลับมาที่เดิมขณะที่อยู่ในระยะใกล้ที่จะสวนกันให้ต่างหลีกไปทางซ้ายเพียงเล็กน้อย โดยอาวุธอาจจะถูกหรือระกันเล็กน้อยได้  การเดินแปลงเป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างจ้องดูเล่ห์เหลี่ยมของกันและกัน เป็นการอ่านใจกันและคุมเชิงกันในทีก่อนจะเข้าต่อสู้

5. การต่อสู้
 

         จะเป็นการใช้ท่าทางการต่อสู้ที่ได้ฝึกมาทั้งหมดในสถานการณ์จริง การต่อสู้นี้จะใช้อาวุธของการต่อสู้ที่เรียกว่า "เครื่องไม้ตี" มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องไม้รำแต่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงาม

6. การขอขมา
 

        
 เป็นการไหว้กันและกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายหลังจบการแสดงแต่ละอาวุธ เป็นการขอโทษต่อการแสดงที่ผิดพลั้งต่อกัน เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นในภายหลังจากสมัยท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา 

         การแสดงกระบี่กระบองมีธรรมเนียมดีอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีดนตรีประกอบซึ่งจะมีปี่ชวา กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) ตัวเมีย (เสียงต่ำ) และฉิ่งจับจังหวะ เพราะไทยเป็นชาติรักดนตรีการเล่นหรือแสดงเฉย ๆ จะรู้สึกเงียบเหงา ขาดรสชาติหาความสนุกสนานได้ยาก นอกจากดนตรีจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น แล้วยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิมมีกำลังใจในการต่อสู้ โดยเฉพาะเสียงกลองจะเป็นเหมือนเสียงหนุนหรือยุให้ผู้เล่นคิดจะสู้เรื่อย ๆ ไปโดยไม่คิดจะถอย มีแต่จะบุกติดตามเข้าไปด้วยความทรหดอดทน อีกประการหนึ่ง ในการแข่งขันต้องมีการรำอาวุธก่อนต่อสู้ ซึ่งถือว่าเป็นการดูเชิงและเป็นการทำให้กล้ามเนื้อตื่นตัวลดความตื่นเต้น ถ้าไม่มีเสียงดนตรีแล้วจะรำได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ลูกไม้ 6 ลูกไม้


ไม้ตีที่ 1

ท่าคุมตีลูกไม้
ท่าคุมตีลูกไม้เป็นท่ายืนเตรียมพร้อมก่อนที่จะฝึกหัดตีลูกไม้โดยยืน เท้าชิด หันหน้าเข้าหากัน มือจับกระบี่อยู่ทางขวา ปลายกระบี่พิงอยู่ที่ไหล่ขวา แขนเหยียดตึง โกร่งกระบี่อยู่ข้างหน้า แขนซ้ายอยู่ข้างลำตัว

จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่
 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่
 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า


ไม้ตีที่
 2
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่
 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตี ลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยูข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุกให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตีของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลง ทาง ขาขวาของฝ่ายรับ มือซ้ายลดลง
- ฝ่ายรับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พร้อมกับพลิกกระบี่กลับไปรับทางขวา มือซ้ายลดลง


ไม้ตีที่
 3
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่
 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่
 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตีของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น

จังหวะที่
 4
- ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลงทางขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลง
- ฝ่ายรับ ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับพลิกกระบี่ไปรับการตีของฝ่ายรุก มือซ้ายลดลง



ไม้ตีที่ 4
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง



จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง



ไม้ตีที่ 5
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่
 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่
 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือ
ออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง

จังหวะที่
 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง

จังหวะที่
 5
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นด้านหลัง
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ  มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น


ไม้ตีที่
 6
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
- ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่
 2
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่
 3
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของกระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง
จังหวะที่ 4
- ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางขวาของคู่ต่อสู้ 
- ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บนพร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง

จังหวะที่ 5
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นข้างหลัง
- ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น

จังหวะที่ 6
- ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับยกโกร่งกระบี่ขึ้น ให้ปลายกระบี่ชี้ไปข้างหลัง ใช้โคนกระบี่กระแทกลงไปที่หน้าของฝ่ายรับมือซ้ายลดลง

- ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง ยกกระบี่ขึ้นเหมือนจังหวะที่ 5 ใช้ตัวกระบี่รับโคนกระบี่ของฝ่ายรุก แล้วดันขึ้น

ไม้รำ 12 ไม้รำ

1. ไม้รำที่ 1 ลอยชาย ทิศในการเดิน เดินเฉียงแบบสลับฟันปลาเริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวาลักษณะทำกึ่งขวาหันโล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ลำตัวตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น แล้วใช้มือซ้ายรำหน้าให้ตัวนิ่ง
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากวางเท้าซ้ายลงพร้อมกับวางกระบี่ ให้กระบี่ขนานกับพื้นไปทางซ้ายของลำตัวระดับเอว ปลายกระชี่ชี้ไปข้างหน้า มือซ้ายจีบที่หน้าอก
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเลยเท้าซ้ายไปข้างหน้า
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้นพร้อมก้มเหยียดแขนซ้ายอกรำข้าง
(จบไม้รำที่ 1 ลอยชาย)

    2. ไม้รำที่ 2 ควงทัด ทิศทางในการเดินสลับปลาจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 จะเริ่มจากท่าคุมรำให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางเท้าขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวา ลักษณะกึ่งขวาหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู ปลายกระบี่ 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดซ้ายช้า ๆ ลำตัวตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉากปลายเท้างอ ลำตัวตั้งตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้ายเฉียงซ้ายลักษณะยกเท้าซ้าย พร้อมจ้องปลายกระบี่ลงข้างหน้าแล้วพลิกข้อมือหงายให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงด้านหน้าประมาณ 45 องศา
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉากต่อกับข้อศอกขวา ปลายเท้างอขึ้นพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 2 ควงทัด)

    3. ไม้รำที่ 3 เสือลากหาง ทิศทางในการเดิน เดินตรงไปข้างหน้าเริ่มจากท่าคุม
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าซ้าย งอเท้าขวาเหยียดตึง น้ำหนักตัวค่อนไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ทำช้า ๆ ลำตัวตรง หน้าตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา พร้อมกับยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง แล้วใช้มือซ้ายรำหน้า จังหวะที่ 4 ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น แล้วพลิกตัวทำกลับหลังหันเท้าทั้งสองเป็นจุดหมุน พร้อมกับโล้ตัวไปเท้าขวา พลิกปลายกระบี่ชี้ลงพื้น โกร่งกระบี่หันออก มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 5 ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก หมุนตัวทางขวามือทำกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน ลดกระบี่ไว้ข้างเอว ทางซ้ายมือ
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาลงข้างหน้า แบมือว้าย แตะกระบี่ที่อยู่ข้างเอว โล้ตัวไปเท้าขวา ลำตัวตรง เท้าซ้ายเหยียดตรง
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ลักษณะย่อตัวเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม ลำตัวตั้งตรงสายตามองตรงไปข้างหน้า กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายยังคงแตะอยู่ที่กระบี่เอวซ้าย
จังหวะที่ 8 ยกเข่าขวาขึ้นให้ตั้งฉาก พร้อม ๆ กับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 3 เสือลากหาง)

    4. ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ทิศทางในการเดิน เดินเฉียงสลับฟันปลา เริ่มจากท่าคุม จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงทางขวา พร้อมกับควงกระบี่ลงข้างหน้า 2 รอบ และยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ลำตัวไปข้างหน้า น้ำหนักลงที่เท้าซ้าย เข่าซ้ายงอเล็กน้อย เท้าขวาเหยียดตึง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น พร้อมกับมือซ้ายตั้งศอก แบมือเรียงชิดติดกัน ให้ศอกตั้งบนเข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะที่ตัวกระบี่ลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 4 ค่อย ๆ หมุนตัวไปทางซ้าย เพื่อทำเฉียงซ้าย ลดมือซ้ายลงจีบที่กลางหน้าอก พลิกข้อมือขวาหงายขึ้นให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางซ้าย วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับโล้ตัวไปให้น้ำหนักลงที่เท้าขวา งอเข่าขวาเล็กน้อยลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ช้า ๆ เพื่อความสวยงาม ลำตัวตรง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา สายตามองที่ปลายกระบี่
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ตัวตรงนิ่ง พร้อมกับใช้มือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 4 ตั้งศอก)

    5.ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า พร้อมกับควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู วางเท้าซ้ายลงพื้นหน้าเท้าขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น จะต้องยืนให้มั่นคงนิ่งไว้ประมาณ 5 วินาที
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย (เพื่อที่จะยกเท้าขวาก้าวต่อ)
จังหวะที่ 5 ขณะที่วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ ให้จ้วงกระบี่ลงข้างหน้าปลายกระบี่เฉียงไปข้างซ้ายลำตัว พร้อมกับจ้วงเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว เรียกว่า “จ้วงหน้า”
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาหน้า พร้อมกับพลิกข้อมือให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้าน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง มือซ้ายค่อย ๆ รำข้าง ประมาณ 5 วินาที จึงจีบเข้าไว้กลางหน้าอกเช่นเดิม
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้นข้างหน้า พร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายมือกลับหลังหัน ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวที่เท้าซ้ายเข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 9 ยกเข่าซ้ายขึ้น พร้อมกับจ้วงกระบี่ลงข้างหน้า ถอยเท้าซ้ายไปวางหลังเท้าขวาพลิกข้อมือขวาหันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปเท้าขวาเล็กน้อย เรียกว่า “จ้วงหลัง”


จังหวะที่ 10 โล้ตัวกลับน้ำหนักตัวลงเท้าซ้ายพร้อมกับยกเข่าขวาขึ้นรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรงพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง)
ถ้าต้องการรำต่อให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 ถึงจังหวะที่ 10 โดยหมุนตัวกลับหลังหันใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ลักษณะคุมรำ

    6.ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว วางเท้าซ้ายลงพื้นพร้อมกับเหยียดแขนซ้ายรำหน้า ปกกระบี่ลงให้ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา วางโคนกระบี่พาดบนนิ้วก้อย หันโกร่งกระบี่ออกไปข้างหน้า โล้ตัวให้น้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย เรียกว่า “ปกหน้า”
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ก้มหน้า สายตามองที่ปลายกระบี่ (ทำช้า ๆ เพื่อความสวยงาม)

จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง
จังหวะที่4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้า เท้าขวาพร้อมกับพลิกตัวทำกลับหลังหัน ควงกระบี่ 2 รอบ มือว้ายจีบเข้ากลางอก เมื่อกลับหลังหันแล้วให้ปกกระบี่ลง เหยียดมือซ้ายออกรำหน้า รองรับกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา ก้มหน้าเล็กน้อย ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าขวา เรียกว่า “ปกหลัง”
จังหวะที่ 5 ยกเท้าขวาขึ้นตั้ง มือซ้ายจีบเข้ากลางอก หมุนตัวกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน เพื่อหันกลับมาเริ่มในจังหวะที่ 1 ต่อไป
(จบไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง) ถ้าต้องการจะรำต่อให้เริ่มปฏิบัติตาม จังหวะที่ 1 ถึงจังหวะที 5

    7.ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์ ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าวางเท้าซ้ายโดยหันลำตัวทางขวา คล้ายทำขวาหัน ยืนในท่ายักษ์ คือการย่อเข่าทั้งสอง น้ำหนักตัวลงตรงกลาง ลำตัวตรง หน้าตรง ตัวกระบี่ขึ้นตรงวางไว้หน้าขาขวา ปลายกระบี่พาดช่วงไหล่ขวา
จังหวะที่ 2 เมื่อลำตัวนิ่งในท่ายักษ์แล้ว ให้สลัดหน้าไปทางซ้าย แล้วสลัดหน้าไปทางขวา
จังหวะที่ 3 สลัดหน้าตรงพร้อมกับยกกระบี่ขึ้นฟังให้ตรงข้างหน้าทางขวา 1 ครั้งทางซ้าย 1 ครั้ง โดยฟันเป็นลักษณะกากบาท
จังหวะที่ 4 เมื่อยก กระบี่ขึ้นฟันข้างหน้า ขวา – ซ้าย แล้วให้กลับอยู่ในท่ายักษ์

จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉากใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพลิกตัวกลับหลังหัน เมื่อกลับหลังหันแล้วให้วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้ายตัวตรง หน้ามองตรงพร้อมกับยกเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหลังหันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เท้าขวาเป็นจุดหมุน จะกลับมาอยู่คล้ายจังหวะที่ 4 ลักษณะท่ายักษ์ เมื่อตัวนิ่งแล้ว ให้สลัดหน้าทางซ้าย 1 ครั้ง ทางขวา 1 ครั้ง และกลับมาสู่ท่ายักษ์
(จบไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์)
    8.ไม้รำที่ 8 สอยดาว ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า เปลี่ยนวิธีจับกระบี่ใหม่ โดยใช้นิ้วชี้สอดขึ้นบนกระบี่ จับกระบี่ด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมกับปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกระบี่ ขณะที่ปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง จับกระบี่โดยหงายมือขึ้น โกร่งกระบี่หันออก วางเท้าซ้ายลงพื้นทำขวาหัน ลดมือซ้ายใช้ฝ่ามือแตะที่ตัวกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้นเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ฝ่ามือซ้ายแตะที่กระบี่
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายตั้งฉาก ยกกระบี่ขึ้นเล็กน้อย ฝ่ามือซ้ายแตะกระบี่
จังหวะที่ 4 ก้าวซ้ายตรงไปข้างหน้า พร้อมกับจ้วงกระบี่และสอดกระบี่ขึ้นข้างบน เรียกว่า “สอยดาว” พร้อมกับก้าวเท้าขวาเดินอีก 1 ก้าว ทำกลับหลังหัน
จังหวะที่ 5 พลิกข้อมือกระบี่ตั้งขึ้นหันโกร่งกระบี่ออก งอเข่าทั้งสองข้างลำตัวตั้งตรง มือซ้ายจิ้มเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าหลัง
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาตั้งฉาก เมื่อตัวนิ่งแล้วมือซ้ายเหยียดออกรำหน้า
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้น พลิกข้อมือที่จับกระบี่หงายมือขึ้นแบฝ่ามือซ้ายหันฝ่ามือลง แตะปลายกระบี่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปเข่าขวา ยกเข่าซ้ายตั้งฉากเพื่อเดินตรงไปข้างหน้า
จังหวะที่ 9 พลิกข้อมือหันโกร่งกระบี่ออกนอกลำตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้นข้างบนประมาณ 45 องศา มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อย
จังหวะที่ 10 ยกเข่าขวาตั้งฉากให้ตัวนิ่งแล้วมือซ้ายรำหน้า
(จบไม้รำที่ 8 สอยดาว) ถ้าต้องการรำต่อ หรือเข้าสู่ท่าคุมรำ ให้วางเท้าขวาลงบนพื้น ยกกระบี่ ขึ้นควง 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

    9.ไม้รำที่ 9 ควงแตะ ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับทำขวาหัน ควงกระบี่ 2 รอบ เหยียดมือซ้ายรองรับปลายกระบี่ ที่ขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออกเรียกว่าควงแตะ งอเข่าทั้ง 2 เล็กน้อย ลำตัวตรง
จังหวะที่ 2 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ใช้เท้าเป็นจุดหมุนกลับหลังหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวา ลงพื้นในทิศทางตรงไปข้างหน้า เช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 แต่หันหน้าตรงข้ามกัน
จังหวะที่ 3 ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงกระบี่ขนานพื้น หน้ามองตรง
จังหวะที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ทำช้า ๆ ให้ลำตัวนิ่ง
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉาก
(จบไม้รำที่ 9 ควงแตะ)
ถ้าต้องการรำต่อก็เริ่มต้นตั้งแต่จังหวะที่ 1 โดยการวางเท้าขวาลงพื้นและก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหันหลัง พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ “ควงแตะ”

    10.ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า, กลับหลังหัน, ขวาหัน เริ่มจากท่าคุมรำ จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นปก (แขนขวาแนบที่หูขวาคว่ำปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก โล้ตัวไปหน้าให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย มือซ้ายเหยียดออกคล้ายรำหน้า นิ้วชิดติดกัน หันฝ่ามือออกให้โคนกระบี่วางที่กลางนิ้วก้อย)
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย พยายามย่อเข่าทั้ง 2 ลงเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ให้ตัวนิ่งไว้ระยะหนึ่ง
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าค่อย ๆ ยกปลายกระบี่ชี้ขึ้น มือทั้งสองทำท่าแหวก หรือท่าว่ายน้ำ ท่ากบ ซึ่งเรียกว่า แหวกฟองน้ำ ให้แขนทั้งสองเสมอไหล่ และขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออก ย่อเข่าซ้าย น้ำหนักตัวโล้ไปเท้าซ้าย
จังหวะที่ 5 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าพลิกตัวกลับหลังหันโดยหมุนตัวทางขวา รวมทั้งแขนทั้งสองมาป้องข้างหน้า โดยแบมือซ้ายหันฝ่ามือลงพื้นให้กระบี่ตั้งขึ้นอยู่ในง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้งอข้อศอกทั้งสองยกขึ้นขนานกับพื้นอยู่เหนือสายตา
จังหวะที่ 6 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก
จังหวะที่ 7 ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนตัวไปทางขวา (ทำขวาหัน) พร้อมกับวางเท้าขวาลงข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นตั้งฉาก
(จบไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ)
    11.ไม้รำที่ 11 ลดล่อ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้าโดยการพลิกตัวขวา – ซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 จากท่าคุมรำลดกระบี่ลง แขนงอเล็กน้อย กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกแขนขึ้นระดับหน้าผาก หันหน้ามองลอดแขนไปทางปลายกระบี่ ย่อตัวให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกวา “ลด” จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกเท้าขวาหมุนตัวกลับหลังหัน โดยหมุนตัวทางขวามือ วางเท้าขวาหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายกำหลวม ๆ ลดลงระหว่าหน้าขาซ้ายงอข้อศอกเล็กน้อยยกกระบี่ขึ้นแขนงระดับหน้าผาก ก้มหน้า หันหน้ามองปลายกระบี่เสมอ โล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า “ล่อ” (จบไม้รำที่ 11 ลดล่อ) ถ้าต้องการรำต่อ ให้ก้าวเท้าซ้ายสอดไปหลังเท้าขวา และวางเท้าขวาข้างหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับพลิกตัวกลับหลังทางซ้ายมือ กลับอยู่ท่าคุมรำ หรือทำ
จังหวะที่ 1 ต่อไป ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน ทิศทางเดิน เดินสลับฟันปลาเฉียงขวา เฉียงซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปทางขวากึ่งขวาหัน ตั้งกระบี่ขึ้นเอามือซ้ายไปรองด้ามกระบี่ โดยแบมือขึ้น โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายทำช้า ๆ
จังหวะที่ 3 ยกเท้าซ้ายขึ้นให้เข่าตั้งฉาก ลำตัวตรง
จังหวะที่ 4 ให้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน หมุนตัวไปเฉียงซ้าย พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงกึ่งซ้ายหันโล้น้ำหนักตัวไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย ลำตัวตรงนิ่งไว้ระยะหนึ่ง จึงก้าวเท้าขวาเดิน 1 ก้าว วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก มือว้ายรำโดยการพลิกให้ฝ่ามือหันออก หลังมืออยู่หน้าโกร่งกระบี่
(จบไม้รำที่ 12 เชิญเทียน)
ถ้าต้องการรำต่อ ก็ให้หมุนตัวเฉียงมาทางขวามือ และปฏิบัติเช่นเดียวกับจังหวะที่ หรือควงกระบี่ 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

2
supat_kong 27 ก.ค. 2554, 2:54:13 แจ้งการละเมิด
แม่ไม้การร่ายรำทั้ง 12 ไม้ลำ

มีดังนี้ 1. ไม้รำที่ 1 ลอยชาย ทิศในการเดิน เดินเฉียงแบบสลับฟันปลาเริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวาลักษณะทำกึ่งขวาหันโล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ลำตัวตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น แล้วใช้มือซ้ายรำหน้าให้ตัวนิ่ง
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากวางเท้าซ้ายลงพร้อมกับวางกระบี่ ให้กระบี่ขนานกับพื้นไปทางซ้ายของลำตัวระดับเอว ปลายกระชี่ชี้ไปข้างหน้า มือซ้ายจีบที่หน้าอก
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเลยเท้าซ้ายไปข้างหน้า
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้นพร้อมก้มเหยียดแขนซ้ายอกรำข้าง
(จบไม้รำที่ 1 ลอยชาย)

2. ไม้รำที่ 2 ควงทัด ทิศทางในการเดินสลับปลาจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 จะเริ่มจากท่าคุมรำให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางเท้าขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวา ลักษณะกึ่งขวาหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู ปลายกระบี่ 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดซ้ายช้า ๆ ลำตัวตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉากปลายเท้างอ ลำตัวตั้งตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้ายเฉียงซ้ายลักษณะยกเท้าซ้าย พร้อมจ้องปลายกระบี่ลงข้างหน้าแล้วพลิกข้อมือหงายให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงด้านหน้าประมาณ 45 องศา
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉากต่อกับข้อศอกขวา ปลายเท้างอขึ้นพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 2 ควงทัด)

3. ไม้รำที่ 3 เสือลากหาง ทิศทางในการเดิน เดินตรงไปข้างหน้าเริ่มจากท่าคุม
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าซ้าย งอเท้าขวาเหยียดตึง น้ำหนักตัวค่อนไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ทำช้า ๆ ลำตัวตรง หน้าตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา พร้อมกับยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง แล้วใช้มือซ้ายรำหน้า จังหวะที่ 4 ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น แล้วพลิกตัวทำกลับหลังหันเท้าทั้งสองเป็นจุดหมุน พร้อมกับโล้ตัวไปเท้าขวา พลิกปลายกระบี่ชี้ลงพื้น โกร่งกระบี่หันออก มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 5 ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก หมุนตัวทางขวามือทำกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน ลดกระบี่ไว้ข้างเอว ทางซ้ายมือ
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาลงข้างหน้า แบมือว้าย แตะกระบี่ที่อยู่ข้างเอว โล้ตัวไปเท้าขวา ลำตัวตรง เท้าซ้ายเหยียดตรง
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ลักษณะย่อตัวเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม ลำตัวตั้งตรงสายตามองตรงไปข้างหน้า กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายยังคงแตะอยู่ที่กระบี่เอวซ้าย
จังหวะที่ 8 ยกเข่าขวาขึ้นให้ตั้งฉาก พร้อม ๆ กับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 3 เสือลากหาง)

4. ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ทิศทางในการเดิน เดินเฉียงสลับฟันปลา เริ่มจากท่าคุม จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงทางขวา พร้อมกับควงกระบี่ลงข้างหน้า 2 รอบ และยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ลำตัวไปข้างหน้า น้ำหนักลงที่เท้าซ้าย เข่าซ้ายงอเล็กน้อย เท้าขวาเหยียดตึง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น พร้อมกับมือซ้ายตั้งศอก แบมือเรียงชิดติดกัน ให้ศอกตั้งบนเข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะที่ตัวกระบี่ลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 4 ค่อย ๆ หมุนตัวไปทางซ้าย เพื่อทำเฉียงซ้าย ลดมือซ้ายลงจีบที่กลางหน้าอก พลิกข้อมือขวาหงายขึ้นให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางซ้าย วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับโล้ตัวไปให้น้ำหนักลงที่เท้าขวา งอเข่าขวาเล็กน้อยลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ช้า ๆ เพื่อความสวยงาม ลำตัวตรง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา สายตามองที่ปลายกระบี่
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ตัวตรงนิ่ง พร้อมกับใช้มือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 4 ตั้งศอก)

ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า พร้อมกับควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู วางเท้าซ้ายลงพื้นหน้าเท้าขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น จะต้องยืนให้มั่นคงนิ่งไว้ประมาณ 5 วินาที
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย (เพื่อที่จะยกเท้าขวาก้าวต่อ)
จังหวะที่ 5 ขณะที่วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ ให้จ้วงกระบี่ลงข้างหน้าปลายกระบี่เฉียงไปข้างซ้ายลำตัว พร้อมกับจ้วงเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว เรียกว่า “จ้วงหน้า”
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาหน้า พร้อมกับพลิกข้อมือให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้าน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง มือซ้ายค่อย ๆ รำข้าง ประมาณ 5 วินาที จึงจีบเข้าไว้กลางหน้าอกเช่นเดิม
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้นข้างหน้า พร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายมือกลับหลังหัน ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวที่เท้าซ้ายเข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 9 ยกเข่าซ้ายขึ้น พร้อมกับจ้วงกระบี่ลงข้างหน้า ถอยเท้าซ้ายไปวางหลังเท้าขวาพลิกข้อมือขวาหันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปเท้าขวาเล็กน้อย เรียกว่า “จ้วงหลัง” จังหวะที่ 10 โล้ตัวกลับน้ำหนักตัวลงเท้าซ้ายพร้อมกับยกเข่าขวาขึ้นรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรงพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง)
ถ้าต้องการรำต่อให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 ถึงจังหวะที่ 10 โดยหมุนตัวกลับหลังหันใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ลักษณะคุมรำ

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว วางเท้าซ้ายลงพื้นพร้อมกับเหยียดแขนซ้ายรำหน้า ปกกระบี่ลงให้ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา วางโคนกระบี่พาดบนนิ้วก้อย หันโกร่งกระบี่ออกไปข้างหน้า โล้ตัวให้น้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย เรียกว่า “ปกหน้า”
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ก้มหน้า สายตามองที่ปลายกระบี่ (ทำช้า ๆ เพื่อความสวยงาม)
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง จังหวะที่
4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้า เท้าขวาพร้อมกับพลิกตัวทำกลับหลังหัน ควงกระบี่ 2 รอบ มือว้ายจีบเข้ากลางอก เมื่อกลับหลังหันแล้วให้ปกกระบี่ลง เหยียดมือซ้ายออกรำหน้า รองรับกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา ก้มหน้าเล็กน้อย ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าขวา เรียกว่า “ปกหลัง”
จังหวะที่ 5 ยกเท้าขวาขึ้นตั้ง มือซ้ายจีบเข้ากลางอก หมุนตัวกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน เพื่อหันกลับมาเริ่มในจังหวะที่ 1 ต่อไป
(จบไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง) ถ้าต้องการจะรำต่อให้เริ่มปฏิบัติตาม จังหวะที่ 1 ถึงจังหวะที 5

ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์ ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าวางเท้าซ้ายโดยหันลำตัวทางขวา คล้ายทำขวาหัน ยืนในท่ายักษ์ คือการย่อเข่าทั้งสอง น้ำหนักตัวลงตรงกลาง ลำตัวตรง หน้าตรง ตัวกระบี่ขึ้นตรงวางไว้หน้าขาขวา ปลายกระบี่พาดช่วงไหล่ขวา
จังหวะที่ 2 เมื่อลำตัวนิ่งในท่ายักษ์แล้ว ให้สลัดหน้าไปทางซ้าย แล้วสลัดหน้าไปทางขวา
จังหวะที่ 3 สลัดหน้าตรงพร้อมกับยกกระบี่ขึ้นฟังให้ตรงข้างหน้าทางขวา 1 ครั้งทางซ้าย 1 ครั้ง โดยฟันเป็นลักษณะกากบาท
จังหวะที่ 4 เมื่อยก กระบี่ขึ้นฟันข้างหน้า ขวา – ซ้าย แล้วให้กลับอยู่ในท่ายักษ์
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉากใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุนพลิกตัวกลับหลังหัน เมื่อกลับหลังหันแล้วให้วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้ายตัวตรง หน้ามองตรงพร้อมกับยกเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหลังหันอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เท้าขวาเป็นจุดหมุน จะกลับมาอยู่คล้ายจังหวะที่ 4 ลักษณะท่ายักษ์ เมื่อตัวนิ่งแล้ว ให้สลัดหน้าทางซ้าย 1 ครั้ง ทางขวา 1 ครั้ง และกลับมาสู่ท่ายักษ์
(จบไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์)
ไม้รำที่ 8 สอยดาว ทิศทางการเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า เปลี่ยนวิธีจับกระบี่ใหม่ โดยใช้นิ้วชี้สอดขึ้นบนกระบี่ จับกระบี่ด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย พร้อมกับปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบกระบี่ ขณะที่ปล่อยปลายกระบี่หมุนลงล่าง จับกระบี่โดยหงายมือขึ้น โกร่งกระบี่หันออก วางเท้าซ้ายลงพื้นทำขวาหัน ลดมือซ้ายใช้ฝ่ามือแตะที่ตัวกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้นเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ฝ่ามือซ้ายแตะที่กระบี่
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายตั้งฉาก ยกกระบี่ขึ้นเล็กน้อย ฝ่ามือซ้ายแตะกระบี่
จังหวะที่ 4 ก้าวซ้ายตรงไปข้างหน้า พร้อมกับจ้วงกระบี่และสอดกระบี่ขึ้นข้างบน เรียกว่า “สอยดาว” พร้อมกับก้าวเท้าขวาเดินอีก 1 ก้าว ทำกลับหลังหัน
จังหวะที่ 5 พลิกข้อมือกระบี่ตั้งขึ้นหันโกร่งกระบี่ออก งอเข่าทั้งสองข้างลำตัวตั้งตรง มือซ้ายจิ้มเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าหลัง
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาตั้งฉาก เมื่อตัวนิ่งแล้วมือซ้ายเหยียดออกรำหน้า
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้น พลิกข้อมือที่จับกระบี่หงายมือขึ้นแบฝ่ามือซ้ายหันฝ่ามือลง แตะปลายกระบี่ ถ่ายน้ำหนักตัวไปเข่าขวา ยกเข่าซ้ายตั้งฉากเพื่อเดินตรงไปข้างหน้า
จังหวะที่ 9 พลิกข้อมือหันโกร่งกระบี่ออกนอกลำตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้นข้างบนประมาณ 45 องศา มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อย
จังหวะที่ 10 ยกเข่าขวาตั้งฉากให้ตัวนิ่งแล้วมือซ้ายรำหน้า
(จบไม้รำที่ 8 สอยดาว) ถ้าต้องการรำต่อ หรือเข้าสู่ท่าคุมรำ ให้วางเท้าขวาลงบนพื้น ยกกระบี่ ขึ้นควง 2 รอบ อยู่ในท่าคุมรำ

ไม้รำที่ 9 ควงแตะ ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับทำขวาหัน ควงกระบี่ 2 รอบ เหยียดมือซ้ายรองรับปลายกระบี่ ที่ขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออกเรียกว่าควงแตะ งอเข่าทั้ง 2 เล็กน้อย ลำตัวตรง
จังหวะที่ 2 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ใช้เท้าเป็นจุดหมุนกลับหลังหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ วางเท้าขวา ลงพื้นในทิศทางตรงไปข้างหน้า เช่นเดียวกับจังหวะที่ 1 แต่หันหน้าตรงข้ามกัน
จังหวะที่ 3 ย่อเข่าทั้งสองเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงกระบี่ขนานพื้น หน้ามองตรง
จังหวะที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ทำช้า ๆ ให้ลำตัวนิ่ง
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาตั้งฉาก
(จบไม้รำที่ 9 ควงแตะ)
ถ้าต้องการรำต่อก็เริ่มต้นตั้งแต่จังหวะที่ 1 โดยการวางเท้าขวาลงพื้นและก้าวเท้าซ้ายหมุนตัวกลับหันหลัง พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ “ควงแตะ”

    ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า, กลับหลังหัน, ขวาหัน เริ่มจากท่าคุมรำ จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นปก (แขนขวาแนบที่หูขวาคว่ำปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา โกร่งกระบี่หันออก โล้ตัวไปหน้าให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ก้มหน้าเล็กน้อย มือซ้ายเหยียดออกคล้ายรำหน้า นิ้วชิดติดกัน หันฝ่ามือออกให้โคนกระบี่วางที่กลางนิ้วก้อย)
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย พยายามย่อเข่าทั้ง 2 ลงเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ให้ตัวนิ่งไว้ระยะหนึ่ง
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าค่อย ๆ ยกปลายกระบี่ชี้ขึ้น มือทั้งสองทำท่าแหวก หรือท่าว่ายน้ำ ท่ากบ ซึ่งเรียกว่า แหวกฟองน้ำ ให้แขนทั้งสองเสมอไหล่ และขนานกับพื้น หันโกร่งกระบี่ออก ย่อเข่าซ้าย น้ำหนักตัวโล้ไปเท้าซ้าย
จังหวะที่ 5 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้าพลิกตัวกลับหลังหันโดยหมุนตัวทางขวา รวมทั้งแขนทั้งสองมาป้องข้างหน้า โดยแบมือซ้ายหันฝ่ามือลงพื้นให้กระบี่ตั้งขึ้นอยู่ในง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้งอข้อศอกทั้งสองยกขึ้นขนานกับพื้นอยู่เหนือสายตา
จังหวะที่ 6 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก
จังหวะที่ 7 ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก หมุนตัวไปทางขวา (ทำขวาหัน) พร้อมกับวางเท้าขวาลงข้างหน้า ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นตั้งฉาก
(จบไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ)
     ไม้รำที่ 11 ลดล่อ ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้าโดยการพลิกตัวขวา – ซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 จากท่าคุมรำลดกระบี่ลง แขนงอเล็กน้อย กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกแขนขึ้นระดับหน้าผาก หันหน้ามองลอดแขนไปทางปลายกระบี่ ย่อตัวให้น้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกวา “ลด” จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกเท้าขวาหมุนตัวกลับหลังหัน โดยหมุนตัวทางขวามือ วางเท้าขวาหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายกำหลวม ๆ ลดลงระหว่าหน้าขาซ้ายงอข้อศอกเล็กน้อยยกกระบี่ขึ้นแขนงระดับหน้าผาก ก้มหน้า หันหน้ามองปลายกระบี่เสมอ โล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา ลักษณะนี้เรียกว่า “ล่อ” (จบไม้รำที่ 11 ลดล่อ) ถ้าต้องการรำต่อ ให้ก้าวเท้าซ้ายสอดไปหลังเท้าขวา และวางเท้าขวาข้างหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับพลิกตัวกลับหลังทางซ้ายมือ กลับอยู่ท่าคุมรำ หรือทำจังหวะที่ 1 ต่อไป ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน ทิศทางเดิน เดินสลับฟันปลาเฉียงขวา เฉียงซ้าย เริ่มจากท่าคุมรำ จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปทางขวากึ่งขวาหัน ตั้งกระบี่ขึ้นเอามือซ้ายไปรองด้ามกระบี่ โดยแบมือขึ้น โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายทำช้า ๆ
จังหวะที่ 3 ยกเท้าซ้ายขึ้นให้เข่าตั้งฉาก ลำตัวตรง
จังหวะที่ 4 ให้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน หมุนตัวไปเฉียงซ้าย พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงกึ่งซ้ายหันโล้น้ำหนักตัวไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย ลำตัวตรงนิ่งไว้ระยะหนึ่ง จึงก้าวเท้าขวาเดิน 1 ก้าว วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
จังหวะที่ 5 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก มือว้ายรำโดยการพลิกให้ฝ่ามือหันออก หลังมืออยู่หน้าโกร่งกระบี่
(จบไม้รำที่ 12 เชิญเทียน)

การขึ้นพรหมยืน

• พรหมยืน ให้หันหน้าเข้าหาคู่พรหมนั่ง วางกระบี่ปลายชี้ไปข้างหน้าห่างกึ่งกลางเข่าทั้งสองพอประมาณ
• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
• ประณมมือ วันทา แล้วหยิบกระบี่ทัดหูเฉียง 45 องศา ตั้งเข่าซ้าย 

• จ้วงกระบี่ด้านหน้า ลุกขึ้นยืนหันทางขวา 90 องศา หงายมือโกร่งอยู่ด้านบนกระบี่ เฉียง 45 องศารำข้างเสมอคิ้ว
• ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า เปลี่ยนกระบี่ทัดหู ลากเท้าขวาไปข้างหน้าเปลี่ยนหงายกระบี่เฉียง 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้ายยกเข่าซ้ายจ้วงกระบี่พร้อมก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเท้าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวามาทางด้านขวา หันหน้าไปทางซ้ายมือ 90 องศา ท่าทัดหู 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่ พร้อมวางเท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาหงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวารำข้างเสมอคิ้ว วางเท้าขวา หมุน 180 องศา บิดตัวทางซ้าย 
• ยืนในท่าทัดหู ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเข่าซ้าย จ้วงกระบี่พร้อมวางเท้าซ้าย และก้าวเท้าขวา หงายกระบี่ 45 องศา ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวายกเข่าขวา รำข้างเสมอคิ้ว ควง 2 รอบ ยืนคุมรำ เสร็จแล้ว ตรง

การขึ้นพรหมนั่ง

การขึ้นพรหมนั่ง
• พรหมนั่งให้นั่งหันขวาเข้าหาคู่นั่งพรหมยืน
• กระบี่วางด้านข้างกายทางซ้าย
• ประณมมือ ถวายบังคม 3 ครั้ง
• ประณมมือวันทา แล้วหยิบกระบี่

• ยกกระบี่ข้ามศีรษะจัดอยู่ระดับเอวขวาศอกแนบชิดลำตัวเป็นมุมฉาก เข้าขวาตั้งมือซ้ายจีบอก
• เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย โล้ตัวไปข้างหน้า รำหน้า


• หมุน 180 องศา กลับทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้ายรำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้ายพร้อมวาดกระบี่ออกนั่งคุมรำ
• โล้ตัวไปด้านหน้า รำหน้า หันทางขวา 90 องศา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้าง เปลี่ยนเข่า ตั้งเข่าซ้าย นุ่งคุมรำ

• โล้ตัวไปด้านหน้า ลุกขึ้นยืน ลากเท้าชิดขวาเท้าซ้าย ยกเท้าซ้าย รำหน้า วางเท้าหมุน 180 องศาทางขวา กระบี่อยู่ที่เอวซ้าย รำข้างระดับคิ้ว ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวา พร้อมวาดกระบี่ออกทางขวา วางเท้าอยู่ในท่ายืนคุมรำ (จะหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้)

ประวัติของกระบี่กระบอง

การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทยที่เรียกว่า กระบี่กระบอง การเล่นกระบี่กระบองเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังมาทำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว  

          การเล่นกระบี่กระบองเริ่มในสมัยใด ใครเป็นผู้คิดขึ้นไม่สามารถหาหลักฐานได้ เนื่องจากได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ  วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
 

           ในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองมาก ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวงจร และโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อใน พ.ศ. 2409 

           ในรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ กระบี่กระบองมีกันดาษดื่นและมากคณะ 

            ในรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5 

            ในรัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองค่อยๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น 

            ต่อมา อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้เป็นผู้นำวิชากระบี่กระบองบรรจุไว้ในหลักสูตรประโยค ผู้สอนพลศึกษา ในปีพ.ศ.2479 และเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะผู้อนุรักษ์ฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปการต่อสู้ประเภทนี้  ในปี พ.ศ.2518 ได้มีการจัดให้วิชากระบี่กระบองเป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและในปี พ.ศ.2521 เป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงยังคงมีการเรียนการสอนอยู่ทุกวันนี้